ประวัติขนมเบื้องไทยโบราณ

     

          ขนมเบื้องความจริงไม่ได้เป็นของไทย ต้นตำรับเดิมเป็นของอินเดีย โดยพวกพราหมณ์ได้นำเข้ามาตั้งแต่ สมัยกรุงสุโขทัย ดังปรากฏเป็นหลักฐานจากหนังสือ "ธรรมบทเผด็จ" ว่า เศรษฐีโกศิยะ ซึ่งเป็นคนขี้เหนียวที่สุด ในพุทธกาล อยากกินขนมเบื้อง จึงให้ภรรยาขนเครื่องขึ้นไปทำบนชั้นเพื่อไม่ให้ใครเห็น เมื่อพระพุทธเจ้าได้ ทราบถึงพฤติกรรมของเศรษฐี จึงส่งพระโมคคัลลาน์ ให้ไปขอรับบิณฑบาตขนมเบื้อง เศรษฐีโกศิยะพยายามให้ ภรรยาทำขนมเบื้องชิ้นเล็ก ๆ ถวาย แต่ทุกครั้งที่ละเลงแป้ง แป้งจะฟูขึ้นเต็มกระทะอย่างน่าอัศจรรย์ยิ่ง เศรษฐีเกิด ความเสียดาย พยายามให้ทำใหม่อีก แป้งก็ฟู ติดแน่นตามขึ้นมามาก มายทุกครั้งไป ในที่สุด เศรษฐีก็หมดความอยาก จึงให้ภรรยาถวาย ขนมเบื้องไป พระโมคคัลลาน์จึงได้แสดง พระธรรมเทศนาเรื่อง คุณและโทษของความ ตระหนี่ ต่อมาทั้งเศรษฐีและภรรยาก็เปลี่ยน เป็นคนใจบุญสุนทาน และบรรลุพระโสดาทั้ง คู่ สาเหตุก็มาจาก ความอยากกินขนมเบื้องของท่านเศรษฐีโดยแท้ ขนมเบื้องในสมัย หน้าตาของไม่เหมือนในปัจจุบันนี้เป็นแน่แท้ ขนมเบื้องได้มีมาประมาณ 2 พันกว่าปีแล้ว นับว่าเป็นขนมโบราณที่สุด ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นได้ มีหลักฐานกล่าวไว้ใน "พระราชพิธีเดือนสิบ" ตอนเดือนอ้ายว่า "กำหนดเลี้ยงขนมเบื้องนี้ ว่าเมื่อพระอาทิตย์สุดทาง ใต้จากนิจ เป็นที่หยุด จะกลับขึ้นเหนืออยู่ในองศา 8 องศา ในราศีธนู เป็นถึงกำหนดเลี้ยงขนมเบื้องนี้ ไม่ได้มี สวดมนต์ก่อนอย่างเช่นพระราชพิธีอันใด กำหนดพระสงฆ์ตั้งแต่เจ้าพระราชาคณะ 80 รูป ฉันในพระที่นั่ง อมรินทรวินิจฉัย ขนมเบื้องนั้นเกณฑ์พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายใน ท้าวนาง เจ้าจอมมารดา เถ้าแก่ พนักงาน คาด ปะรำตั้งเตาละเลงข้างท้องพระโรง การซึ่งกำหนดเลี้ยงขนมเบื้องนี้ นับเป็นตรุษคราวหนึ่ง และเฉพาะฤดูมีกุ้งมี มันมาก สาวไทยโบราณ ถ้าละเลงขนมเบื้องเก่ง เรียกว่า "แม่ร้อยชั่ง"....."



  Creative Commons License
ประวัติขนมเบื่องไทยโบราณ by มี่ is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-ShareAlike 4.0 International License.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น